วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Java)

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Java)

     มนุษย์เราก็มีภาษาใช้ในการสื่อสาร เพื่อสื่อความหมาย รู้ถึงความรู้สึกต่างๆ ภาษาที่เราใช้สื่อสารกัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ  ในคอมพิวเตอร์ก็มีภาษาที่ใช้สั่งการต่างๆด้วย ซึ่งภาษานี้สามารถสั่งการ หรือควบคุมโปรแกรมของเครื่องจักรนี้ บอกก่อนเลยว่าไม่เคยรู้จักภาษาคอมพิวเตอร์เลย แม้แต่นิดเดียว เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์นี้ไปพร้อมๆกัน  

   ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ภาษาที่เราใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำตามคำสั่งนั้นได้ ส่วนมากเรียกว่า ภาษาโปรแกรม 

   เรามาทำความรู้จักกับ ภาษาจาวา(Java) กันดีกว่า ภาษาจาวาเป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้แทน ภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับ ภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน 
ถึงแม้จะมีชื่อคล้ายกัน  แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็น กระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้
จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ
  1. ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
  2. ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)
  3. เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
  4. เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา

เนื่องจากมีชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป สับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เหมือนกัน 
ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองอย่าง ถึงจะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน 
โดย ภาษาจาวา คือ ภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ที่ได้อธิบายไป ส่วน จาวาแพลตฟอร์ม คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือจาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)
โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพทอน (Python) หรือ ภาษาอื่นๆก็ได้ 
ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน 


 ลักษณะเด่นของ Java สามารถจำแนกได้หลัก ๆ ดังนี้

ทำงานอิสระ (Platform Independent)

            มีผู้กล่าวไว้ว่า Java เกิดมาเพื่อการทำงานบน WWW นั่นหมายความว่า Browser จะทำการ download โปรแกรมจาวาจาก server มาทำงานบนโดยตรงอยู่บนเครื่องของผู้เรียกเว็บเพ็จได้เลย โดยไม่คำนึงว่า ระบบปฏิบัติการของผู้ใช้ จะเป็นระบบเดียวกันกับ server ที่ใช้ compile จาวาหรือไม่

ความง่ายของตัวภาษา

            หลักไวยากรณ์ของ Java มีความคล้ายคลึงกับภาษา และ C++ เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่เหมือนกับภาษาใหม่อื่น ๆ ที่ต้องมาเริ่มศึกษาไวยากรณ์กันทั้งหมด อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ ออกไป โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ (Interface) ไม่ใช่เรื่องที่ยาก (จะเห็นจากการนำจาวามาพัฒนาในเรื่องของ Animation และ อื่น ๆ ซึ่งจะกล่าวในบทถัด ๆ ไป)

ความปลอดภัย (Security)

            นั่นคือ เมื่อต้องมีการถูก Download ไปใช้อยู่ในที่ต่าง ๆ ภาษาจาวาจึงมีการกำหนดข้อจำกัดบางอย่างขึ้น เพื่อไม่ให้การรันโปรแกรมนั้น ๆ ไปก่อให้เกิดความเสียหายบนเครื่องของผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงสามารถลืมบรรดา Hacker ทั้งหลายที่รักการเขียนโปรแกรมก่อกวนไปได้ในระดับหนึ่ง

Java เบื้องต้น


อ้างอิงข้อมูล 
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น